สะสมของไม่ยอมทิ้ง ไม่ใช่แค่นิสัย แต่อาจจะเป็น โรคชอบเก็บสะสมสิ่งของ

โรคชอบเก็บสะสมสิ่งของ

โรคชอบเก็บสะสมสิ่งของ หากได้ดูข่าวเมื่อไม่กี่วันมานี้อาจจะเจอข่าวหนึ่งที่คุณยายพักอยู่คนเดียวในห้องเช่า และเก็บสารพัดข้าวของเอาไว้ไม่ยอมทิ้ง จนส่งกลิ่นเหม็นรบกวนเพื่อนบ้าน ซึ่งคุณยายอยู่กับกองขยะนี้มาเป็นเวลานานหลายปี สะสมจนมีปริมาณขยะในห้องมากถึง  5 ตัน สาเหตุที่คุณยายไม่ทิ้งของเหล่านี้เพราะว่าเสียดายของ ไม่อยากทิ้ง แต่อาการที่คุณยายเป็นนี้ไม่ใช่เพียงนิสัย หวงของ หรือหวงสมบัติแค่อย่างเดียว แต่มีอาการของโรคหนึ่งที่เรียกว่า

 โรคชอบเก็บสะสมสิ่งของ

โรคชอบเก็บสะสมสิ่งของ เป็นอาการป่วยทางจิตอย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา

Hoarding Disorder กลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะแสดงอาการมาตั้งแต่ช่วงเป็นวัยรุ่น และอาการจะแสดงออกชัดเจนมากขึ้นในช่วงอายุ 30 ปีขึ้นไป และยิ่งมีอายุมากขึ้น อาการของโรคก็จะยิ่งชัดเจนมากขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งหนักขึ้นเมื่อสูงอายุมากขึ้น

โรคชอบสะสมสิ่งของ เป็นอาการป่วยทางจิต

พฤติกรรมของผู้ป่วยโรคนี้จะค่อย ๆ เก็บสะสมของเล็ก ๆ น้อย ๆ มาเรื่อย ๆ เช่นกล่องใส่ของที่ซื้อมา ตะกร้าผลไม้เยี่ยมไข้ กล่องคุ้กกี้ที่หมดแล้ว ริบบิ้นที่มากับกล่องของขวัญ หรือแม้แต่ถุงพลาสติกที่ใส่ของกลับวจากซุปเปอร์มาเก็ต เหตุที่ผู้ป่วยเก็บสิ่งของเหล่านี้ไว้ เพราะคิดว่าเผื่ได้ใช้ หรือกลัวว่าเมื่อต้องการใช้จะไม่มี เผื่อว่าสิ่งของเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในอนาคต ซึ่งส่วนใหญ่อนาคตของของสะสมเหล่านี้ใม่เคยมีอยู่จริง เพราะของเหล่านี้แทบไม่ถูกเอาออกมาใช้เลย 

อาการ โรคชอบสะสมสิ่งของ

และที่น่าตกใจคือโรคนี้สามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม โรคนี้สามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรมถึง 80% หมายความว่าหากพ่อแม่ของเราเป็นโรคนี้ เราเองก็มทีโอกาสเป็นเช่นเดียวกัน ส่วนสาเหตุของโรคนั้นไม่มีที่มาชัดเจน อาจจะเป็นไปได้ว่าก่อนป่วยชีวิตของผู้ป่วยเคยขาดแคลสิ่งของ เมื่อมีโอกาสก็เก็บสะสม เป็นโรควิตกกังวล หรืออาจจะรวมถึงอาการข้างเคียงของโรคสมองเสื่อมได้ด้วย

โรคชอบเก็บสะสมสิ่งของ Hoarding Disorder

อาการป่วยนี้ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว แต่หากผู้ปป่วยอยู่ในสภาวะแวดล้อมเช่นนนี้นาน ๆ ก็ส่งผลถึงสุขภาพได้ เนื่องจากของที่เก็บไว้อาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค และสัตว์ที่นำเชื้อโรคอย่าหนู และแมลงสาบ รวมถึงสร้างควาทมเดือดร้อนรำคาญให้คนรอบข้างด้วย

การรักษาโรคนี้ทำได้ด้วยการให้ยาปรับเคมีในสมอง ควบกับการปรึกษาจิตแพทย์เพื่อปรับพฤติกรรม และทำความสะอาดที่อยู่อาศัย เอาของที่ไม่จำเป็นเหล่านั้นออกไปให้หมด และต้องรักษาอบย่างต่อเนื่อง เพราะไม่เช่นนั้นผู้ป่วยก็จะพยายามหาสิ่งของมาเติมเข้าไปใหม่เรื่อย ๆ เช่นเดิม

กดติดตามเว็บไซต์ธุรกิจความสวยความงาม
บทความที่น่าสนใจโรคนอนไม่หลับ กับปัญหาสุขภาพที่ควรระวังให้มากที่สุด

Author: Namwarn