
หญ้าดอกขาว ( Cyanthillium cinereum ( L. ) H.Rob. ) หรือ หญ้าหมอน้อย เป็นพืชล้มลุกที่สามารถเจริญติบโตได้ดีในพื้นที่โล่งแจ้งค่อนข้างตายยาก ทนทาน ได้ในทุกสภาพดินที่อยู่ในพื้นที่เขตร้อนขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ไปดูกันว่าหญ้าดอกขาวเป็นหญ้าที่มีสรรพคุณทางยาอะไรบ้าง

หญ้าดอกขาว พืชสมุนไพรที่นิยมนำมาเป็นยาไว้รักษาโรคต่าง ๆ
สรรพคุณทางยาของหญ้าดอกขาว
-มีสรรพคุณช่วยรักษาอาการโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ( ทั้งต้นตากแห้ง )
-ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ ( ทั้งต้นสด )
-ใช้เป็นยาบำรุงเลือด ( ทั้งต้นสด )
-ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ช่วยคลายความเครียด ใช้เป็นยาบำรุงประสาท ( ทั้งต้นสด )
-รักษาอาการเต้านมอักเสบ ลดอาการบวมช้ำภายใน ( ทั้งต้นสด โดยการนำต้นหญ้าดอกขาวมาต้มในน้ำสะอาด ดื่มวันละ 3 เวลา เช้า-กลางวัน-เย็น ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 1 เดือน ควรดื่มในขณะอุ่นเพื่อให้เห็นผลชัดเจนขึ้น )

-แก้อาการไมเกรน แก้อาการปวดศีรษะ ( ทั้งต้นสด โดยนำมาต้มในน้ำสะอาดใช้เวลาเคี่ยวประมาณ 15 นาที จากนั้นกรองเอาน้ำมาดื่มเมื่อมีอาการต่อเนื่องกัน เมื่อผ่านไปสักพักอาการจะค่อยๆดีขึ้น )
-แก้อาการหอบหืด แก้ไอ แก้เจ็บคอ ใช้เป็นยาล้างปอดได้ดี รักษาอาการปอดอักเสบ ( ใบสด โดยให้นำใบสดมาต้มน้ำดื่มแทนช้าในช่วงเช้าและก่อนนอน ควรดื่มในขณะที่ยังอุ่นจะช่วยให้เห็นผลเร็วขึ้น )
-แก้ท้องอืด อาการจุก เสียด แน่นท้อง ( เมล็ดสด โดยการนำเมล็ดหญ้าดอกขาวมาบดให้ละเอียดแล้วนำมาชงดื่ม ซึ่งปกติแล้วจะเห็นผลทันทีตั้งแต่แก้วแรก )

-แก้โรคตาแดง ตาแฉะ ( ตำใบสดหญ้าดอกขาวแล้วนำมาผสมกับน้ำนมแม่ลูกอ่อนใช้เป็นยาหยอดตา )
-ช่วยขับปัสสาวะ แก้อาการปัสสาวะขัด ( รากสด ใช้ต้มน้ำดื่มแทนชา เช้า-เย็น อาการจะค่อยๆดีขึ้น )
-แก้ริดสีดวงทวาร ( ทั้งต้นสด โดยการนำมาต้มน้ำดื่มวันละ 3 เวลา ควรดื่มในขณะที่ยังอุ่นติดต่อกันจนกว่าจะหายดี )
-ใช้เป็นยาขับพยาธิเส้นด้าย ( เมล็ดแห้งหรือสดก็ได้ นำมาป่นให้ละเอียดแล้วนำมาชงกับน้ำร้อน ใช้ดื่มเช้า-เย็น )

นอกจากสรรพคุณที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นแล้วหญ้าดอกขาวยังพบว่าสามารถต้านการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรคต่างๆ มีฤทธิ์ในการต้านการกระจายตัวของเซลล์มะเร็ง สามารถลดอาการอยากบุหรี่ ลดอาการอยากอาหารสามารถนำไปใช้เพื่อลดน้ำหนักได้ แต่หากทานหญ้าดอกขาวในปริมาณมากมักทำให้มีอาการปากแห้ง คอแห้ง ไม่อยากอาหาร ควรใช้อย่างระมัดระวังในผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคหัวใจและโรคไตเนื่องจากหญ้าดอกขาวมีส่วนประกอบของโพแทสเซียมสูง
กดติดตามเว็บไซต์ เครื่องสำอางสมุนไพรธรรมชาติ
บทความเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่น่าสนใจ ผักปลาบ ผักสมุนไพรไทยที่มักถูกลืมแต่มีสรรพคุณดีมีประโยชน์มากมาย