การกายภาพบำบัด ในผู้ป่วยติดเตียง เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยฟื้นฟูร่างกาย

การกายภาพบำบัด ในผู้ป่วยติดเตียง

การกายภาพบำบัด ในผู้ป่วยติดเตียง สำหรับผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะด้วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบ เส้นเลือดในสมองแตก แล้วเกิดภาวะป่วยจนร่างกายต้องนอนติดเตียงนั้น การทำกายภาพร่างกายเมื่อร่างกายอยู่ในสภาวะคงที่ถือได้ว่าเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยฟื้นฟู และพัฒนาร่างกายให้ร่างกายมีการกระตุ้น ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของระบบไหลเวียนให้ดีขึ้น เรียกได้ว่าระหว่างที่ผู้ป่วย ๆ ติดเตียงนั้น การฝึกทำกายภาพบำบัดด้วยตัวเองหากสามารถทำได้

และการทำกายภาพบำบัดจากผู้ดูแลอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่องจะช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อให้ไม่เกิดการยึดติดแข็งของข้อต่อของส่วนต่าง ๆ เรียกได้ว่าสำหรับคำแนะนำจากเว็บ เครื่องสำอางสมุนไพรธรรมชาติ ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้น การกายภาพบำบัดถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ผู้ดูแลควรให้ความสำคัญควบคู่กับการดูแลด้านอื่นด้วย

การกายภาพบำบัด ในผู้ป่วยติดเตียง

ท่าทาง การกายภาพบำบัด ในผู้ป่วยติดเตียง ที่สำคัญของส่วนบน และส่วนล่างของร่างกาย

ท่ากายภาพบำบัดส่วนบน (ส่วนแขน) สำหรับท่ากายภาพส่วนแขนที่สำคัญนั้น การดูแลผู้ป่วยติดเตียง กับผลแทรกซ้อนทางร่างกาย เป็นท่ากายภาพบำบัดที่มีลักษณะการหมุนแขนออกเพื่อเป็นการเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อต่อ เพื่อลดการติดแข็งของข้อต่อแขน และเพิ่มความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อแขน อีกทั้งการทำกายภาพบำบัดส่วนแขนยังช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกเพลิดเพลิน และหายเครียดอีกด้วย

การกายภาพบำบัด ในผู้ป่วยติดเตียง -ช่วยฟื้นฟูร่างกาย

ท่ากายภาพบำบัดส่วนล่าง (ส่วนขา) สำหรับท่ากายภาพบำบัดส่วนล่าง ส่วนขา และส่วนข้อเท้า ปลายเท้านั้น เป็นท่ากายภาพบำบัดที่ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับอวัยวะเท้า ข้อเท้า ขา นิ้วเท้า เพิ่มการยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อทุกมัด โดยท่าของการทำกายภาพจะเน้นหมุนระหว่างข้อขา และส่วนข้อต่อต่าง ๆ อาทิข้อเท้า ข้อนิ้วเท้า โดยหากผู้ป่วยสามารถที่จะกายภาพเองได้ก็สามารถกายภาพต่อเนื่องได้

ท่าทาง การกายภาพบำบัด ในผู้ป่วยติดเตียง

โดยการยกเท้าขึ้นลง ท่าละ 20 – 30 ครั้ง โดยเน้นการเคลื่อนไหวระหว่างข้อต่อ สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถมีแรงหรือสามารถทำกายภาพด้วยตัวเองได้นั้น ผู้ดูแลสามารถช่วยทำกายภาพแบบ Passive ได้ โยการทำนั้นให้ทำด้วยความเบามือ ระหว่างทำนั้นให้หมั่นสังเกตุอาการความเจ็บป่วยของผู้ป่วยอยู่เสมอเพื่อที่จะไม่ทำกายภาพแก่ผู้ป่วยจนเกิดความบาดเจ็บจนเกินไป เรียกได้ว่าการให้ความสำคัญต่ออาการบาดเจ็บนั้นเป็นสิ่งที่ช่วยลดความเจ็บปวดอย่างมาก

Author: Namwarn